การวัดกำลังไฟฟ้าdc 1


การวัดกำลังไฟฟ้าในไฟฟ้ากระแสตรง


บทความนี้จะพูดถึงการวัดกำลังไฟฟ้าในวงจรกระแสตรงนะครับ 

ในเรื่องของไฟฟ้า จะแบ่งไฟฟ้าออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ นั้นคือ ไฟฟ้ากระแสตรง  กับ ไฟฟ้ากระแสสลับ และ   


ปริมาณหลักๆที่เราควรรู้ก็มี แรงดันไฟฟ้า(V)  กระแสไฟฟ้า(I) พลังงานไฟฟ้า(W) กำลังไฟฟ้า(P)

  
หาเรารู้ปริมาณหลักๆ ทั้งหมดในวงจรนั้นๆเราก็สามารถควบคุมวงจรนั้นได้ นำไปประยุกต์ได้ ซึ่งการที่จะรู้ค่าต่างๆในวงจรได้นั้น เราจำเป็นจะต้องวัดค่ามันออกมาโดยใช้ มีเตอร์ต่างๆ เช่น แอมป์มิเตอร์  โวลต์มิเตอร์ หรือ มัลติมิเตอร์ เป็นต้น 








ในที่นี้ผมจะเน้นไปที่การวัดกำลังไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง  


ก่อนอื่นเลยจะวัดปริมาณใดๆก็ตาม ยังไงก็ต้องรู้จักก่อนว่า ปริมาณนั้นนิยามมันว่าอย่างไร 

นิยามของกำลังไฟฟ้าก็คือ  ค่าที่แสดงถึงปริมาณของงานที่ทำในช่วงเวลาที่กำหนด พูดง่ายๆก็คือ อัตราการทำงาน ณ เวลานั้น  จากที่เขียนมา เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ของกำลังไฟฟ้าได้เป็น 



                                   กำลังไฟฟ้า(วัตต์) =  พลังงานไฟฟ้า(จูล) / เวลา(วินาที)



  เราสามารถเขียน กำลังไฟฟ้าในรูปของ กระแสไฟฟ้า และ แรงดันไฟฟ้า โดยสร้างจากนิยามของ กระแสไฟฟ้า และ แรงดันไฟฟ้า ดังนี้


แรงดันจะมีนิยามจากความต่างศักย์ที่ว่า ณ จุด 2 จุดที่มีความต่างศักย์ การเคลื่อนที่ของประจุ 1 คูลอมบ์ต้องใช้พลังงานในการเคลื่อน 1 จูล ต่างความสัมพพันธ์นี้


  

  
ส่วนนิยามของกระแสไฟฟ้า คือ  จำนวนประจุที่เคลื่อนที่ผ่านจุดที่กำหนดภายใน 1 วินาที   

                                                               



 จากความสัมพันธ์ 

        




  ทำให้เราได้ กำลังไฟฟ้าที่อยู่ในรูปของ แรงดัน กระแส    

  หากเรารู้ค่า แรงดัน(V) กระแส(I) ความต้านทาน(R) ก็สามารถหากำลังไฟฟ้าได้ โดยใช้ความสัมพันธ์นี้ 




สรุปง่ายๆก็คือ หากเรารู้ค่ามา 2 ปริมาณ เช่น รู้ค่า I กับ V ก็ใช้สูตรแรก คำนวณเสร็จเราจะได้ค่าของกำลังไฟฟ้ามา  
การจะรู้ปริมาณ V,I,R ได้ นั้น ก็ต้องทำการวัด วัดโดยใช้มิเตอร์ต่างๆ เช่น โวลต์มิเตอร์ , แอมป์มิเตอร์ , มัลติมิเตอร์ เป็นต้น   




ในหน้าถัดไปจะเริ่มพูดถึงการวัดกำลังไฟฟ้าในวงจรกระแสสลับนะครับ                              




  NEXT>>


ไม่มีความคิดเห็น: