การวัดกำลังไฟฟ้าdc2


    การวัดกำลังไฟฟ้ากระแสตรง 



     ในการวัดกำลังกระแสตรงนั้น เราสามารถหาค่าได้โดยการใช้ แอมป์มิเตอร์  และ โวลมิเตอร์ 
     โดยจะต่อมิเตอร์ดังรูปต่อไปนี้ 

                      


       
          เมื่อเราอ่านค่ากระแส และ แรงดัน จากมิเตอร์เสร็จแล้ว เราก็นำค่าเหล่านั้นมาคำนวณลงไปในสูตร 


P  =  VI  


 ข้อควรระวัง :  ค่ากำลังที่คำนวณได้นั้นเป็นกำลังที่รวมกำลังที่สูญเสียในเครื่องวัดด้วย เพราะฉะนั้นหาก     คำนวณ กำลังไฟฟ้าเสร็จให้ ลบกำลังในเครื่องวัดด้วย 


 ตัวอย่าง          ใช้โวลต์มิเตอร์พิสัย 50 โวลต์ ที่มีความไว 1000 โอห์ม/โวลต์ และ แอมป์มิเตอร์พิสัย 
 100 มิลิแอมป์  ต่อในวงจรเพื่อวัดกำลังในโหลด  ถ้าโวลต์มิเตอร์อ่านได้ 40 โวลต์  และ แอมป์มิเตอร์อ่าน    ค่าได้ 50 มิลิแอมป์  จงหากำลังที่สูญเสียในโหลด


หากำลังไฟฟ้ารวม    จาก  P = VI       

                               
        P     =    40 โวลต์  x   50  มิลิแอมป์  


                                                   P     =      2.00  วัตต์    

แต่  กำลังไฟฟ้า นี้ยังไม่ใช้กำลังที่สูญเสียเฉพาะ โหลดเท่านั้น แต่มันรวมถึง กำลังที่สูญเสียใน เครื่องวัดด้วย 

เราจึงต้องหา กำลังที่เสียไปใน โวลต์มิเตอร์   โดยเริ่่มจากหาความต้านทานภายในโวลต์มิเตอร์ก่อน

                                                 Rv    =     50 โวลต์  x  1000 โอห์ม/โวลต์  
           
                                                         =     50    กิโลโอห์ม   

หากำลังที่สูญเสียในโวลต์มิเตอร์ จาก  P = V^2 / R   

                                                   P    =    1600 / 50 k      =    0.03      วัตต์ 


เมื่อเราได้กำลังไฟฟ้าที่สูญเสียในโวลต์มิเตอร์แล้ว เราก็จะสามารถหากำลังไฟฟ้าที่เสียให้โหลดได้ ดังนี้

                                                   P   =    2.00    -   0.03      

                                                   P   =   1.97            วัตต์


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วัตต์มิเตอร์ 



ถึงแม้จะใช้วิธีการคำนวณจากแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่วัดได้ในวิธีการ ดังกล่าวก็ตาม แต่จะไม่สะดวกและเกิดความยุ่งยากในการวัดค่า และการคำนวณหาค่า 

ดังนั้นวัตต์มิเตอร์จึงถูกสร้างขึ้นมาใช้งาน เพื่อใช้วัดกำลังไฟฟ้าได้โดยตรง 
โดยมีวงจรการใช้งานดังรูปนี้ 


                                          

                       
วัตต์มิเตอร์เป็นมิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์ จะขออธิบายส่วนประกอบของวัตต์มิเอตร์คร่าวๆ ก็คือ

วัตต์มิเตอร์ประกอบไปด้วย ขดลวด 3 ขวด ขดลวด 2 ขวดใหญ่ที่วางขนานกันจะเป็นขดลวดคงที่ (Fixed Coils) หรือขดลวดกระแส (Current Coils) ส่วนตอนกลางของขดลวดคงที่จะมีขดลวดเคลื่อนที่ได้ (Moving Coil) หรือขดลวดแรงดัน (Voltage Coil) วางอยู่ภายในวงกลมของขดลวดคงที่ โดยที่ขดลวดเคลื่อนที่จะมีแกนยึดติดพร้อมเข็มชี้และสปริงก้นหอย


วัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์นี้สามารถนำไปวัดกำลังไฟฟ้าได้ทั้งกำลังไฟฟ้าของวงจรกระแสตรง และกำลังไฟฟ้าของวงจรกระแสสลับ เพราะขดลวดทั้งขดลวดแรงดันและ ขดลวดกระแสสามารถรับแรงดัน ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ 

ข้อควารระวัง :  ในการใช้งาน วัตต์มิเตอร์ ต้องไม่ให้กระแสที่ผ่านขดลวดกระแสเกินกว่าพิกัดของมิเตอร์ที่บอกไว้ และต้องไม่ให้แรงดันที่ป้อนเข้าขดลวดแรงดันเกินกว่าพิกัดของมิเตอร์ที่บอกไว้ ดังนั้นในการใช้วัตต์มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า จึงควรต่อแอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ร่วมในวงจรด้วย เพื่อเป็นตัวแสดงค่าของกระแสและแรงดันทั้งหมดที่จะผ่านวัตต์มิเตอร์


ในการต่อวัตต์มิเตอร์ จะต่อเป็นดังรูปนี้ 












                       หนังสือ การวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า เขียนโดย รศ.ดร.เอก    ไชยสวัสดิ์




ไม่มีความคิดเห็น: